ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
ความหมายสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw
data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง
แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
ชนะ
โศภารักษ์ (2540, หน้า 104) ที่กล่าวว่า
สารสนเทศ หมายถึง ผลที่ได้รับจาก การนำข้อมูลมาแปรสภาพ
หรือรวบรวมให้อยู่ในรูปที่มีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่นเดียวกับ สมคิด บางโม
(2540, หน้า 293) กล่าวว่า
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล (data) และการจัดกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
(information) เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน
ประกอบการวินิจฉัยสั่งการตามความต้องการของผู้บริหาร และเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล
ผ่านการวิเคราะห์ และสรุปให้อยู่ในรูปที่มีความหมายที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง
ๆ มักจะมีสารสนเทศเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่น ในกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักศึกษา จำนวนอาจารย์ เป็นต้น
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540, หน้า 97) กล่าวว่า
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลผล หรือคำนวณทางสถิติไม่ใช่ข้อมูลดิบสำหรับใช้ในการวางแผน
ควบคุมและตัดสินใจด้าน การบริหารของผู้บริหาร
สุชาดา กีระนันทน์ (2542, หน้า 5)
ได้ให้ความหมายว่า สารสนเทศ หมายถึง
ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นจนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์ คือ ความรู้ที่เกิดเพิ่มขึ้นกับผู้ใช้สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติม
กระบวนการก่อให้เกิดสารสนเทศ
เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียน อาจเห็น พนักงานการไฟฟ้า ไปที่บ้าน พร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก เพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขัน ที่มีผู้สอบจำนวนมากก็มีการ ใช้ดินสอระบายตามช่อง ที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้า ที่ห้างสรรสินค้า ก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงาน จะนำสินค้าผ่านการตรวจสอบของเครื่อง เพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุ ในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ ห้องสมุด ก็พบว่าหนังสือ มีรหัสแท่ง เช่นเดียว กัน การใช้รหัสแท่งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล
(2) การประมวลผล
ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อ
ต่างๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือ เทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ จะถูก นำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูล เป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการ คัดแยกข้อมูล ที่จัดเก็บ
นั้น
(3) การแสดงผลลัพธ์
อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดง เป็นภาพ เป็นเสียง เป็น วีดิทัศน์ เป็นต้น
4) การทำสำเนา
เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และ ทำได้จำนวนมาก
ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็น เทคโนโลยี สารสนเทศ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร
อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม
ซึ่งสามารถ ทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
5) การสื่อสารโทรคมนาคม
เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละ มากๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท
ตั้งแต่ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีการกระจาย ทางสาย เช่น ใช้โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้
ประเภทของระบบสารสนเทศ
|
ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification by Organizational
Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ
สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคล หรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากร จะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems)
ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information
systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน (Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ
การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification by Functional
Area)
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification by Support
Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และช่วยในการตัดสินใจที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มีความยืดหยุ่นสูง และมีลักษณะโต้ตอบได้ (interactive) โดยอาจมีการใช้โมเดลการตัดสินใจ หรือการใช้ฐานข้อมูลพิเศษช่วยในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems
-TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems-DSS)
ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ ลักษณะของ DSS 1. ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศ
ระดับปฏิบัติการ
บุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั้นคือบุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
ระดับวางแผนปฏิบัติการ
บุคคลในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิงานประจำวัน และการวางแผนปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้น ๆ เช่น แผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำไตรมาส ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ผู้จัดการแนกจายตรงอาจต้องการรายงานสรุปผลการขายประจำไตรมาสของพนักงานขาย เพื่อประเมินผลของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
ระดับวางแผนการบริหาร
บุคลากรในระดับนี้
จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งทำหนาที่วางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาวตามที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง
มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร
เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ
ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว
ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร
เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทาบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่าง
ๆ รวมทั้งอาจต้องการทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายอย่างไรบ้าง
ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
ผู้บริหารระดับนี้จะเป็นระดับสูงสุด
ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร
ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ
(trand analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีก
4 ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดของบริษัท
เพื่อดูแนวโน้มในการ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น ประสิทธิผล (Effectiveness) ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
สรุป
สรุปได้ว่า สารสนเทศ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
และสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการต่าง ๆ
ได้
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ บันทึก
ออกผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนในการวางแผนการปฏิบัติงาน การวินิจฉัยสั่งการตามความต้องการของผู้บริหาร
ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
ความหมายเทคโนโลยี
เทคโนโลยี
หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น
อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร,
วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น
กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ ความหมาย เทคโนโลยี คือ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์
คำว่า
เทคโนโลยี ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
(รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
คำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน
ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น
เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร
และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก
เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก
ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า
และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น
เทคโนโลยี
(Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้
ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง
ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
จำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ
1.
เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้
เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง
ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3.
เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and
product) เช่น ระบบคอมพิวเตอรซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยีชีวภาพ
สรุป
การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ
ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี +
สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information
Technology : IT)
หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ
ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน
ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ
ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร
เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์
นิตยสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
แนวความคิด ระบบ วิธี เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บประมวลผล ค้นคืน
และเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สารสนเทศเหล่านั้นในงานสารสนเทศ
แบ่งออกเป็น
3 ประเภทใหญ่ ๆ
1.
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
(computer technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปิดใช้บริการคอมพิวเตอร์ทั้งในไมโครคอมพิวเตอร์
มินิคอมพิวเตอร์ และเวิร์คสเตชั่น ในการรับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูลจากภายนอกและมีการแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่าน
input devices ต่าง ๆ ได้แก่ แป้นพิมพ์ (keyboard) สแกนเนอร์ (scanner) เป็นต้น
2. เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคมนาคม (telecommunication technology) ได้แก่ โทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล (digital mobile telephone) วิทยุติดตามตัว (pager) เป็นต้น 3. เทคโนโลยีระบบสื่อสาร (communication system technology) หมายถึงระบบการสื่อสาร และเครือข่ายที่เป็นส่วนเชื่อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอล ระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว (fiber optic system) รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN (wide area network) เช่น เครือข่าย Internet เป็นต้น ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน 2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ เป็นต้น 3. ช่วยให้เก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก 4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ 5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้สะดวก ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางโดยการใช้ระบบโทรศัพท์และอื่น ๆ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต (2542, หน้า 4-5) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สำคัญประกอบด้วย 2 สาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งจำแนกตามลักษณะของการใช้งานได้ 6 ประเภท ดังนี้ 1. เทคโนโลยีที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพบรรยากาศ กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายวีดิทัศน์ เครื่องเอ็กซเรย์ เป็นต้น 2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตร ATM เป็นต้น 3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เป็นต้น 4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลหรือสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ จอภาพ พลอตเตอร์ และอื่น ๆ 5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาสารสนเทศ เช่น เครื่องถ่ายภาพ เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น 6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรเลข และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล วชิราพร พุ่มบานเย็น (2545, หน้า 48) ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ คือ 1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นคว้าหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้นและกว้างขวางไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ 2. การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็สามารถทำได้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันหรือใช้เวลาน้อยลง เป็นต้น 3. การดำเนินธุรกิจ จะทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กร เพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4. อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน 5. ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น และงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน นอกจากนั้น สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (2541, หน้า 29) ได้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงานห้าง
เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญหลายสาขาด้วยกัน
ซึ่ง ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540, หน้า 41-43) และ วศิณ
ชูประยูร และสมชาย เล็กเจริญ (2537, หน้า 94) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยสรุปว่า ประกอบไปด้วย
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถปรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีทั้งระบบใหญ่และเล็ก อันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและส่วนประกอบอื่น ๆ ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ท้าทายของทุกคนมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์กับงานต่าง ๆ มากมายตามลักษณะของการใช้งานและประเภทของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซีพียู เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ 2. ซอฟต์แวร์ (software) ได้แก่ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับควบคุม ให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ 3. ข้อมูล (data) ได้แก่ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ต้องเก็บรวบรวมไว้ประกอบการตัดสินใจในการทำงาน ข้อมูลนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ 4. บุคลากร (people ware) ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่สำหรับพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ (programmer) มีหน้าที่ดูแลทั้งระบบ และผู้ใช้ระบบ (user) ในขณะที่ ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล (2544, หน้า 11) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน โดยโปรแกรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทในองค์กร ซึ่งคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญด้วยคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine) คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่สัญญาณไฟฟ้าและถูกแปลงเป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ 2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed) การทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินการต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที) 3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability) คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้ 4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage) คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร 5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication) คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องอื่น ๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ (remote computer)
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ
ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล
เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง
แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก
มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
สรุป
สรุปได้ว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น จะส่งผลต่อทุกสิ่งรอบตัว อย่างมาก
การที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีใด ๆ ก็แล้วแต่ ควรที่จะคำนึงถึงความเหมาะสม และสิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
รวมถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่นเมื่อมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจิตสำนึกที่ดี ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการปฏิบัติประจำวันของหลายธุรกิจตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูล
การซื้อขายสินค้า แม้กระทั่งการแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างองค์การ ซึ่งผู้บริหารสมัยใหม่สมควรต้องติดตามและศึกษาพัฒนาการและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีอย่างมาก
เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีและเทคนิคต่าง ๆ มาใช้งานในองค์กรได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น